วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ตอบคำถามท้ายบทที่ 6

ตอบคำถามท้ายบทที่ 6 หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
 ข้อที่ 1 ข้อใดไม่จัดเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
    
จากการวิเคราะห์และสือหาข้อมูลส่วนตัวดิฉันคิดว่าเครื่องมือที่ไม่จัดเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์  คือ  ลูกคิด

แหล่งข้อมูลจาก :หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6



ตอบคำถามท้ายบทที่5

ตอบคำถามท้ายบทที่ 5 อินเตอร์เน็ต 

ข้อที่ 5 มัลแวร์ประเภทใดที่คอยติดตาม  บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล  และรายงานการใช้งานอินเตอร์เน็ต

จากวิเคราะห์และสืบหาข้อมูลมาดิฉันคิดว่า มัลแวร์ที่คอยติดตามและบันทึกข้อมูล คือ สปายแวร์

แหล่งข้อมูลจาก : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6




วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์



จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์   


                                     ขอบคุณรูปภาพจาก : http://lexpao255.blogspot.com/

จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์  หมายถึง หลีกศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์มากมายเพียงใดก็ตาม  อีกด้านหนึ่งแล้วคอมพิวเตอร์ก็อาจจะเป็นภัยได้เช่นกัน  หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวังหรือนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง  ดังนั้นการใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกันในสังคม จึงต้องมีการกำหนดกฎระเบียบ  กฎเกณฑ์  รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ  เช่น
        1. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำร้ายคนอื่นให้เกิดความเสียหาย  หรือก่อให้เกิดความรำคาญ
        2. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อขโมยข้อมูล
        3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
        4. การละเมิดลิขสิทธิ์


                             ขอบคุณรูปภาพจาก : http://titinanom12.blogspot.com/2014/11/3-httpnoopor-1991-blogspot.html



จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์  PAPA  ประกอบด้วย  4 อย่างเช่น
       1. ความเป็นส่วนตัว (Information  privacy)
       2. ความถูกต้อง  (Information  accuracy)
       3. ความเป็นเจ้าของ (Information property)
       4. การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)  ความเป็นส่วนตัว (Information privacy)

ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) 

             หมายถึง  สิทธิที่จะอยู่ตามลำพังและเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งส่วนบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรต่าง ๆ  ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
  •  การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ 
  • การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน การใช้บริการของพนักงาน
  • การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
  • การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
 ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล  โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการให้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และ ที่อยู่อีเมล์

ความเป็นเจ้าของ (Information Property)

          หมายถึง    กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น รถยนต์  คอมพิวเตอร์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น

               การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธิ์ในระดับใด เช่น
                           
  •      Copyright   หรือ  Software License  ท่านซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์มา และมีสิทธิ์ใช้
  •      Shareware  ซอฟต์แวร์ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
  •      Freeware  ซอฟต์แวร์ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้

การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

             ระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเข้าไปดำเนินการต่าง ๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่ส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิ ในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น

       การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล


ขอบคุณรูปภาพจาก : http://somchaileeju.blogspot.com/


ความถูกต้อง (Information Accuracy)

           คือ   ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์กรให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์

บัญญัติ 10 ประการ ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์

  • ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
  • ม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
  • ไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
  • ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
  • ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
  • ไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
  • ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
  • ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
  • ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
  • ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ  กติกามารยาท 

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก  : บริษัท  ซอฟท์บิส พลัส  จำกัด  http://www.softbizplus.com/computer/704-ethics-in-the-computer

วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2560

รู้จักกันด้วยชั่วโมงโค้ดของโชติกา 5/4 เลขที่18






     โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่สนุกมากและฝึกทักษะในการคิดแก้ไขปัญหาและยังเป็นการทบทวนเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเขียนโปรแกรม การใช้ IF ในการเขียนโค้ด  และยังให้ความเพลิดเพลินกับเกมส์ไปได้ด้วย เล่นเกมส์แบบได้ความรู้ควบคู่กันไปด้วย เพราะเป็นโปรแกรมที่เข้าใจได้ง่ายอีกด้วย


ชื่อ : นางสาวโชติกา  นามวงศ์   ชั้นม.5/4  เลขที่ 18
แผนการเรียน : วิทย์-คณิต
แนวทางการศึกษาต่อ : ระดับอุดมศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดล 
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ : นำไปปรับใช้ในการทำงานเสนอวิชาต่างๆ  และนำไปต่อยอดในการไปแข่งขันทั้งในระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา 
คติประจำใจ : ไม่ว่าสิ่งที่จะทำจะอยากแค่ไหน ถ้าเราคิดว่าเราทำได้เราก็ต้องทำได้ 

เทคโนโลยีการชำระเงินผ่านมือถือและPromptPay

เทคโนโลยีการชำระเงินผ่านมือถือและPromptpay         พร้อมเพล์คืออะไร แล้วเราสามารถชำระเงินผ่านมือถือได้จริงหรือแล้วจะเกิดปัญหาอื่นๆตามมาหร...